top of page

คัดลอกไว้ให้ทันการณ์ 
เมื่ออุทกภัยใหญ่ ยากที่จะป้องกัน ส่งผลต่อภาพจิตรกรรมฝาผนังในศาสนสถานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภัยทางธรรมชาติ โดยเฉพาะการเกิดอุทกภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยนับแต่เผชิญภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ศาสนสถาน โบราณสถานที่สำคัญ ๆ ในหลาย ๆ แห่งได้รับความเสียหาย เช่น โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภาวะน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี 


ภายหลังจากการเกิดอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 พบว่าโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากว่า 30 แห่ง ประสบความเสียหายจากการจมอยู่ในน้ำท่วมสูงเป็นเวลานาน รวมถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ภายในอุโบสถหลายแห่ง อาทิเช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดช้างใหญ่ วัดกษัตราธิราช วัดขนอนเหนือ วัดใหม่ประชุมพล วัดเชิงท่า ภายหลังจากการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังน้ำท่วม พบคราบเกลือและเชื้อราจากความชื้นสะสมของน้ำเกาะติดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นตัวทำลายทำให้ภาพจิตรกรรมเกิดการสึกกร่อนและหลุดร่อนมากขึ้น ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ปี 2564 ปัญหาภาวะน้ำท่วมนี้ยังคงถือเป็นปัญหาใหญ่ พื้นที่ในชุมชน อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้ทัน และได้ไหลเข้าท่วมภายในวัดจุฬามณี สูงกว่า 1-2 เมตร เป็นระยะเวลานานนับสัปดาห์ ทำให้พื้นที่บริเวณวัด สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ได้รับความเสียหายอย่างมาก รวมถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ภายในอุโบสถ


เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย เราจะพบร่องรอยความเสียหายปรากฎแก่ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นอย่างมาก บางภาพจิตรกรรมที่แช่อยู่ใต้น้ำจะกร่อนหาย ซีดจาง หรือขึ้นคราบรา ตะไคร่น้ำ ไม่สามารถบูรณะกลับมาให้สมบูรณ์ได้ดังเดิม นับได้ว่าเป็นการสูญเสียมรดกทางศิลปกรรมของชาติอย่างหนัก


เมื่อยังไม่มีวิธีอื่นที่จะปกป้องภาพจิตรกรรมฝาผนังให้พ้นน้ำท่วม การพิทักษ์รักษามรดกจิตรกรรมเหล่านี้ไว้ จึงควรคัดลอกด้วยเทคนิคการถ่ายภาพให้เหมือนจริงทุกประการ และพิมพ์ลงบนแผ่นกระเบื้องเซรามิกคุณภาพสูงแล้วนำไปติดตั้งบนอาคารหรือพื้นที่ที่เหมาะสม เทคนิคเช่นนี้เหมือนเป็นการทำสำเนาจากต้นแบบจริง เพื่อนำภาพเหล่านี้ที่ยังคงปรากฎลวดลายอยู่ในขณะปัจจุบันถ่ายทอดออกมาเก็บรักษาหรือจัดแสดงให้ประชาชนได้ชื่นชม     ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จำเป็นในการบันทึกเรื่องราวของมรดกศิลปกรรมไว้เป็นหลักฐานที่ยั่งยืน

คมชัดลึก3ตค64.jpg

น้ำท่วมภายในอุโบสถวัดจุฬามณี อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีระดับน้ำวัดได้เกือบ 2 เมตร ที่มา - คมชัดลึก 3 ตุลาคม 2564

sanook2กย64.jpg
sanook2กย64-1.jpg

น้ำท่วมขังภายในโบสถ์และวิหาร โบราณสถานวัดกิ่งแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ สูงกว่า 1 เมตร จากปริมาณฝนที่ตกอย่างหนักและนานต่อเนื่อง - เดือนกันยายน 2564

ที่มา – Sanook Online  2 กันยายน 2564

วัดเชิงท่า.JPG

จิตรกรรมฝาผนังภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายหลังจากประสบปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554

วัดขนอนเหนือ.JPG

จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดขนอนเหนือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายหลังจากประสบปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 พบร่องรอยการสึกกร่อนของฝาผนัง และลายภาพจิตรกรรมกะเทาะหายไปเป็นบริเวณกว้าง

ถ่ายภาพ.JPG

การเก็บข้อมูลและบันทึกภาพด้วยเทคนิคการถ่ายภาพ หนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการคัดลอกภาพลงบนแผ่นกระเบื้องเซรามิก

bottom of page