top of page

แผ่นดินไหวเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนักในประเทศไทย แต่หากเกิดขึ้นแล้วสามารถส่งผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคาร บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ซึ่งรวมถึง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
 

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองซะไกง์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 16 กม. ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมา และอยู่ห่างจาก กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวง ไปทางเหนือประมาณ 100 กม. แผ่นดินไหวครั้งนี้วัดระดับความรุนแรงได้ 8.2 บนพื้นที่รอยต่อของซะไกง์–มัณฑะเลย์ ซึ่งเกิดจากรอยเลื่อนแบบเลื่อนตัวที่ความลึก 10 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในพม่า นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2455 สร้างความเสียหายอย่างมากในประเทศพม่า และส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย ประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง ที่อยู่ภายในอาคารบ้านเรือน รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน (ทำให้อาคาร 31 ชั้นของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่อยู่ในระหว่าง การก่อสร้างถล่มลงมา) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคเหนือ เช่น จ.เชียงใหม่ที่อยู่ใกล้กับพม่า
 

จากการสำรวจพบว่า โบราณสถานวัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ผนังอุโมงค์มีรอยแตกร้าว มีผลกระทบถึงระดับโครงสร้าง รอยร้าวเดิมบนเพดานภายในอุโมงค์ได้รับแรงกระแทกจากแผ่นดินไหว จนเกิดการขยายตัวของรอยร้าว ซึ่งทางกรมศิลปากร มีแนวทางในดำเนินการซ่อมแซมโดย การเสริมความมั่นคงแข็งแรงของอุโมงค์ โดยการนำดินที่ทับถมออก ใส่โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อลดปัญหาน้ำหนักกดทับของชั้นดิน หรือใช้วัสดุทางวิทยาศาสตร์ที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง พร้อมทั้งจัดทำระบบ การระบายน้ำด้านบนอุโมงค์ สำหรับจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโมงค์ จะทำการผนึกและถอดภาพจิตรกรรมออกจากที่เดิม ปรับปรุงผนังและเพดานของอุโมงค์ให้เรียบและแข็งแรงก่อนจะนำภาพจิตรกรรมผนึกกลับเข้าไปตำแหน่งเดิม และอนุรักษ์สี เส้น ลวดลายให้คงสภาพเดิม
 

วัดอุโมงค์เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า มีอายุยาวนานกว่า 700 ปี ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย หากมองในระยะยาว ควรที่จะเร่งดำเนินการคัดลอกโดยใช้เทคนิคการคัดลอกภาพจิตรกรรม ลงแผ่นกระเบื้องเซรามิกขนาดใหญ่ และหากในอนาคต สภาพโครงสร้างอุโมงค์เกิดการแตกร้าวในระดับที่รุนแรงขึ้น จนไม่สามารถคงตัวอยู่ได้ ย่อมเกิดผลเสียหายโดยตรงต่อภาพเขียนบนผนัง และทำให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หายไปโดยไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ ดังนั้น การคัดลอกลงบนแผ่นเซรามิกไว้ตั้งแต่ตอนนี้ จึงเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ในการบันทึกหลักฐานของลวดลายให้เหมือนจริง เพื่อการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมรดกศิลป์ล้านนาต่อไป

วัดอุโมงค์-2.jpg
วัดอุโมงค์-1.jpg

ภาพภายในอุโมงค์ ที่พบรอยแตกร้าวเพิ่มขึ้นจากผลกระทบแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2568

ภาพจิตรกรรมลายนก สลับกับลายดอกโบตั๋น ที่ยังเห็นเค้ารางความสวยงาม ภายในอุโมงค์ส่วนที่หนึ่ง                                

logo.png

Ceramica Image Co., Ltd.

3656/41 Green Tower, 14th Floor, Rama IV Road,

Khlong Tan, Khlong Toei, Bangkok. 10110 (Thailand)

Tel: +66 (0) 2240 2432 
Fax: +66 (0) 2240 3539
info.ceramicaimage@gmail.com

Untitled-3-01.png

Copyright 2009 Ceramic Image Co., Ltd. All rights reserved. 

bottom of page