top of page

อารยศิลป์ เพื่อมวลชน

เมื่องานศิลปะบนแผ่นกระเบื้องเซรามิก ถูกนำมาใช้เป็นงานศิลปกรรมในที่สาธารณะ

ปัจจัยที่สะท้อนคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สามารถมองได้จากการจัดการสภาพแวดล้อมของเมือง ไม่ว่าจะเป็นมหานคร หรือชุมชนระดับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมต่อการใช้งานของประชาชนในชีวิตประจำวัน และสะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของบ้านเมืองนั้น ๆ จนอาจเรียกได้ว่า “ศิลปกรรมสะท้อนความผาสุกของผู้คน” 

สภาพแวดล้อมของเมือง ในแต่ละพื้นที่นั้นครอบคลุมทั้งสภาพอาคาร บ้านเรือน สถานประกอบการ สถานที่ให้บริการประชาชน หน่วยงานของรัฐ พื้นที่สีเขียว สถานที่สาธารณะที่ประชาชนทุกคน ทุกวิถี ทุกสถานภาพ สามารถเข้าไปใช้พื้นที่เหล่านั้นได้อย่างตอบสนองความต้องการ พื้นที่สาธารณะที่ต้องรองรับการใช้งานของคนทุกคน ที่เรียกว่าเพื่อมวลชนนั้น การสร้างความโดดเด่นด้วยศิลปกรรม มีทั้งพื้นที่กลางแจ้งซึ่งเปิดโล่ง และพื้นที่ในร่ม ในอาคาร การสร้างสรรค์ผลงานในพื้นที่เหล่านี้ จึงต้องใช้วัสดุและเทคนิคที่ตอบโจทย์ความสวยงาม ความคงทน ตลอดจนการดูแลรักษา และทำความสะอาดได้ง่าย คุ้มค่าต่องบประมาณในการบำรุงรักษา

พื้นที่สาธารณะที่ต้องรองรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น สวนสาธารณะ ซึ่งรองรับการใช้งานด้านการออกกำลังกาย เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น การแสดง การเล่นดนตรี การจัดงานออกร้าน พื้นที่ภายในสวนสาธารณะ เป็นพื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ให้เราได้ดื่มด่ำกับธรรมชาติ มีบึง ทะเลสาบ ให้ประชาชนภายเรือเล่นในวันหยุด พื้นที่สาธารณะเช่นนี้ สามารถนำงานศิลปะเข้ามาสร้างบรรยากาศของพื้นที่ให้มีผลต่อความสุขใจของประชาชน อาจจะสร้างเป็นงานประติมากรรม ภาพศิลปะนูนสูง บ่อน้ำพุ ซึ่งการสร้างงานภูมิสถาปัตย์เหล่านี้ สามารถนำวัสดุประเภทกระเบื้องเซรามิกมาถ่ายทอดการพิมพ์ภาพที่สวยงามทำให้เกิดจุดเด่นในพื้นที่ และเกิดประโยชน์ในทางกายภาพ อาทิ ลานกลางแจ้งที่มีผนังศิลปกรรมจากกระเบื้องเซรามิกขนาดยักษ์ ซึ่งโชว์ผลงานจิตรกรรม Impressionist จนเกิดเป็นลานกิจกรรมที่ดึงดูดทุกคนที่เข้ามาใช้พื้นที่ ซึ่งอาจจะทำเป็นผนังกั้นพื้นที่หรือตกแต่งเป็นฉากศิลปกรรมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ในบริเวณทางเข้าหลัก อาจมีแผนผัง แสดงบริเวณพื้นที่ภายในสวนธารณะ เพื่อให้ข้อมูลว่าเราอยู่จุดไหน และมีจุดสนใจอะไร เช่น ถ้าเราเข้าชมอุทยานพฤกษศาสตร์ เราจะเจอแผนผังขนาดใหญ่บอกตำแหน่งพื้นที่ซึ่งทำจากกระเบื้องสีสวยสด ติดตั้งเด่นชัดในรูปแบบแท่งประติมากรรมขนาดใหญ่ เด่นตา

คมชัดลึก3ตค64.jpg

ลานกลางแจ้ง ณ Otsuka Museum of Art ตกแต่งด้วยภาพศิลปะ “Water Litlies” ของศิลปินชื่อดัง Claude Monet

sanook2กย64.jpg
sanook2กย64-1.jpg

น้ำท่วมขังภายในโบสถ์และวิหาร โบราณสถานวัดกิ่งแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ สูงกว่า 1 เมตร จากปริมาณฝนที่ตกอย่างหนักและนานต่อเนื่อง - เดือนกันยายน 2564

ที่มา – Sanook Online  2 กันยายน 2564

วัดเชิงท่า.JPG

จิตรกรรมฝาผนังภายในศาลาการเปรียญ วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายหลังจากประสบปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554

วัดขนอนเหนือ.JPG

จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดขนอนเหนือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายหลังจากประสบปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 พบร่องรอยการสึกกร่อนของฝาผนัง และลายภาพจิตรกรรมกะเทาะหายไปเป็นบริเวณกว้าง

ถ่ายภาพ.JPG

การเก็บข้อมูลและบันทึกภาพด้วยเทคนิคการถ่ายภาพ หนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการคัดลอกภาพลงบนแผ่นกระเบื้องเซรามิก

bottom of page